วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559




ประวัติความเป็นมาของเกาะสีชัง

        เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเคยเป็นสถานที่เสด็จประพาส
และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ คือ


1.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ 


2.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕


3.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ 



นามเกาะสีชัง
คำว่าสีชัง มีที่มาตามข้อสันนิษฐานต่างๆดังนี้ นิทานความเชื่อ
      2.เรื่องตาหมื่น ยาวท้าว : เดิมบนเกาะนี้มีฤๅษีตนหนึ่งจำศีลอยู่ ต่อมามีชาวกรุงชื่อ ตาหมื่นกับยายท้าว เป็นชู้กัน จึงถูกคุกราชทัณฑ์ใส่แพลอยมาจากกรุงศรีอยุธยา แพมาติดที่เกาะนี้ คนทั้งสองจึงขึ้นมาอาศัยอยู่บนเกาะ ฤๅษีซึ่งไม่ชอบทางโลกีย์จึงออกไปจากเกาะ เหตุที่ฤๅษีชังการโลกีย์นี้เอง เกาะสีชังจึงได้ชื่อว่า ฤๅษีชังภายหลังคำว่า ฤาหายไปเหลือแต่ ษีชังต่อมา ษ กลายเป็น ส จึงเป็นสีชัง
      3. ตาสี กับ ยายชัง : แต่เดิมบนเกาะนี้ยังมีผัวเมียคู่หนึ่งชื่อ ตาสี กับ ยายชัง ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่บนเกาะ เกาะจึงได้ชื่อตามผัวเมียคู่นี้ คือ เกาะสีชัง แต่ต่อมาดินฟ้าไม่อำนวย ผัวเมียคู่นี้จึงย้ายไปอยู่ที่ศรีราชา
คำศัพท์
      1.คำจีน : แต่เดิมเกาะนี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีชาวจีน ๔ คน แล่นเรือจากประเทศจีนเข้ามา ทำมาหากินในประเทศไทย ครั้นมาถึงเกาะนี้ได้แวะพักอาศัย เห็นเป็นทำเลเหมาะแก่การเพาะปลูกก็เลยขึ้นทำการเพาะปลูกอยู่บนเกาะ ชาวจีนทั้ง ๔ คน ขนามนามเกาะนี้ว่าเป็น ซีชั่นซึ่งแปลว่า สหาย ๔ คน คนไทยได้ยินคำว่า ซีชั่นก็รู้สึกว่าพูดยากจึงออกเสียงเป็น สีชัง
      2.คำบาลี : สีชัง เลือนมาจากคำภาษาบาลีว่า สีห์ชังฆ์แปลว่า แข้งสิงห์เนื่องจากรูปของเกาะนี้ มองแต่ไกลคล้ายสิงห์หมอบ
      3.คำโบราณ : แต่เดิมนามเกาะสีชัง มีชื่อปรากฏในคำสรวลศรีปราชญ์(ผู้ประพันธ์คือ ศรีปราชญ์ซึ่งเกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บทหนึ่ง ซึ่งแต่งไว้ราวปี พ.ศ. ๒๒๓๕ เรียก เกาะสีชังว่า เกาะสระชงง เข้าใจว่าต่อมาการออกเสียงอาจเพี้ยนไปเป็นสีชัง 


                

                                 

  การสร้างพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชัง
แผนผังการปกครอง
      1.เรื่องตาม่องลาย : เจ้าพ่อหอมสิงห์ไปขอหมั้นนางมัดตอง ลูกสาวตาม่องลาย ด้วยเงิน ๔ ชั่ง และเงิน ๔ ชั่ง นั้นกลายเป็นเกาะ เรียกว่าเกาะสี่ชั่ง ภายหลังเลือนเป็น สีชัง


เกาะสีชังช่วงต้นรัตนโกสินทร์

        เกาะสีชังในช่วงนี้มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินเรือสินค้าชายฝั่งทะเลตะวันออก อันเชื่อมโยงการค้าสำเภาในทะเลจีนใต้กับเมืองต่างๆในภาคกลางของราชอาณาจักรสยาม โดยเป็นที่พักเรือสินค้าและเรือโดยสารทั้งหลาย ที่ผ่านมาแถบนี้ จนแม้นักเดินเรือชาวตะวันตกก็ยังรู้จักเกาะสีชังดี ในนาม เกาะดัทช์ เพราะพ่อค้าชาวดัทช์ของบริษัท ดัทช์ อีสท์ อินดีส์ ( Dutch East Indies ) นิยมใช้เกาะสีชังเป็นที่พักเรือ        ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( ร.๒ ) ในปีพ.ศ. ๒๓๖๕ นายจอห์น ครอเฟิร์ด          (John Crawfurd ) ราชทูตอังกฤษ และคณะได้มาสำรวจ และบันทึกสภาพภูมิประเทศ พันธ์พืช สัตว์ ธรณีสัณฐาน ตลอดจนชุมนของเกาะสีชัง ซึ่งพบว่า ชุมชนบนเกาะสีชังเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีแหล่งน้ำจืดจำกัด ทำไร่( พริก คราม ข้าวโพด มัน มันฝรั่ง แตงกวา กล้วย ) และจับปลา สำหรับขายให้แก่เรือสินค้าที่ผ่านไปมาระหว่างกรุงเทพฯกับจันทบุรี มีวัฒนธรรมผสมผสาน ส่วนที่เกาะขาม พบหมู่บ้านชาวประมง ประมาณ ๑๐-๑๒ หลังคาเรือน มีการปลูกข้าวโพด แตงกวา เต้า และกล้วย

 








                      



ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธทรงประชวร พระอาการหนักมาก รัชกาลที่ ๕ จึงเสด็จแปรพระราชฐานนำมาประทับรักษาพระองค์ที่เกาะสีชังและให้รับหมอหลวง หมอเชลยศักดิ์ ออกมาตรวจอาการหลายสิบคน ก็ไม่สามารถรักษาได้ ต่อมาหลวงกุมารเพ็ช สามารถรักษาพระอาการจนพระอาการค่อยคลายขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน น้ำหนักขึ้น ครึ่งปอนด์ ในขณะที่ประทับที่เกาะ สีชังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาสมุทบุรานุรักษ์ เจ้าเมืองสมุทรปราการเป็นแม่กองขุดบ่อใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำฝนให้ราษฎรใช้สอยบ่อหนึ่ง พระราชทานนามว่า บ่ออัษฎางค์ทรงประทับเพื่อรักษาพระอาการพระโอรสอยู่เป็นเวลา ๒ เดือนกับ ๒ วัน จึงมีพระราชดำริจะเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครแม้หลวงเทวะวงษ์วโรประการ ได้ทูลห้ามปรามให้ประทับอยู่อีกหน่อยเพื่อให้พระโรคนั้นดีขึ้นกว่านี้ แต่พระองค์มิได้ฟังคำทัดทานเพราะทรงห่วงภารกิจ จึงเสด็จกลับไปประทับที่วังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ใกล้สระประทุม แต่ประทับอยู่เพียง ๒ คืน พระอาการก็ทรุดลง เพราะอากาศร้อนมาก ( ร้อนกว่าที่เกาะสีชัง ๑๐ องศาฟาเรนไฮ กลางคืนและกลางวันอุณหภูมิที่เกาะสีชังต่างกันเพียง ๓ องศาฟาเรนไฮ ) น้ำหนักลดลง ๔ ปอนด์ ต้องเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่เกาะสีชังอีกครั้ง เมื่อประทับอยู่ที่เกาะสีชังเพียง ๕ ราตรี น้ำหนักคืนมา หนึ่งปอนด์ เมื่อพระอาการของเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธบรรเทาลง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสในที่ต่างๆ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ และตกแต่งสถานที่หลายแห่งบนเกาะเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรและผู้ที่สัญจรไปมายังเกาะนี้ และเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เจ้าฟ้าอัษฎางค์ทรงมารักษาพระองค์จนหายที่เกาะสีชัง อันได้แก่ สะพานอัษฎางค์ ศาลศรีชโลธรเทพ อัษฎางค์ประภาคาร เสาธงอัษฎางค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนต่างๆ เช่น ถนนอัษฎางค์ ถนนวัฒนา ถนนเสาวภา ถนนวชิราวุธเป็นต้น รวมทั้งสร้างวะนะ คือ อุทยานขนาดใหญ่ขึ้นที่ไร่บน พระราชทานนามว่า อัษฎางคะวัน โดยให้หาต้นไม้ทนแล้งจากพระนครส่งออกไปปลูกในอัษฎางคะวันและบริเวณพระราชฐานเป็นจำนวนมาก ในการนี้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช เป็นแม่กองในการสร้างสถานที่ต่างๆ ทั้งยังทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการเปิดฉลองสถานที่ต่างๆเป็นการรื่นเริง และพระราชทานสิ่งของ เครื่องเรือน เครื่องใช้แก่ราษฎรชาวเกาะสีชังด้วย


จุดสิ้นสุดของพระจุฑาธุชราชฐาน

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะสีชังในปีพ.ศ. ๒๔๓๖ แต่ประทับแรมอยู่ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้เปรียบและประกาศปิดอ่าวไทยพร้อมทั้งส่งทหารฝรั่งเศสหมวดหนึ่งขึ้นยึดเกาะสีชัง (เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒) ทำให้การก่อสร้างพระที่นั่งต่างๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ต้องหยุดชะงักลง นับจากเหตุการณ์ดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานฤดูร้อนไปประทับที่พระจุฑาธุชราชฐานบนเกาะสีชังอีกเลยจนสิ้นรัชกาล เพียงแต่ทรงแวะเสด็จขึ้นประพาสบ้าง ในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินประพาสทางทะเล บรรดาพระที่นั่ง และ พระตำหนักต่างๆที่สร้างด้วยเครื่องไม้นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อถอนและนำไปสร้างในที่อื่น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำไปสร้างที่ใดบ้าง ส่วนพระราชฐานบนเกาะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือซึ่งมีส่วนร่วมในการก่อสร้างนับตั้งแต่แรกเริ่มให้เป็นผู้ดูแลรักษา แต่เนื่องจากกรมทหารเรือวางกำลังได้เพียงส่วนน้อย จึงโปรดเกล้าฯให้ตำรวจภูธรซึ่งตั้งขึ้น ณ เกาะสีชังทำการรักษาแทน ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมด์จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้ทอดพระเนตรเห็นพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์รกร้างอยู่ จึงโปรดเกล้าฯให้รื้อมาสร้างใหม่ที่พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ แต่นั้นมาเป็นอันเลิกพระราชวังที่เกาะสีชัง




การบูรณะพระจุฑาธุชราชฐาน

        ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐบาลในขณะนั้นจึงมีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้ามาดูแลพื้นที่อันเป็นที่ดินราชพัสดุนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยจึงวางผังแม่บทการใช้ที่ดิน ปรับปรุงพื้นที่บางส่วน และใช้ที่ดินส่วนที่อยู่นอกเขตพระราชฐานเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล พร้อมทั้งดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของอาคารที่ยังหลงเหลืออยู่        ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ เมื่อเกิดโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ( Eastern Seaboard ) ขึ้น รัฐบาลในขณะนั้นได้ประกาศให้เกาะสีชังเป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ จึงได้มีการศึกษาและวางแผนพัฒนาพื้นที่พระจุฑาธุชราชฐานขึ้น ซึ่งนำไปสู่การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และการอนุรักษ์ฟื้นฟู โดยกรมศิลปากรในเวลาต่อมา จนแล้วเสร็จในพ.ศ. ๒๕๓๙         ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๔๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส วันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 150 ปี จึงมีความดำริว่าโอกาสนี้เป็นโอกาสพิเศษและเหมาะสมยิ่งในการบูรณะพระจุฑาธุชราชฐานให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยงดงามอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์โบราณสถาน และจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารต่างๆ เผยแพร่ความรู้แก่อนุชนชาวเกาะสีชังและประชาชนทั่วไป        เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการบูรณะเรือน ผ่องศรี อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุช ราชฐาน ในวันที่ 12 มกราคม 2547        ปัจจุบันพื้นที่ที่เป็นสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนพื้นที่ที่เป็นโบราณสถานอยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย






ภูมิศาสตร์ 


สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ

กาะสีชังอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 13 องศา ถึง 12 องศาเหนือและระหว่างเส้นแวง 10 องศา 48 ลิปดา ถึง 100 องศา 51 ลิปดา ตั้งอยู่ตะวันออกบริเวณก้นอ่าวไทยตรงกันข้ามกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากจังหวัดชลบุรี ประมาณ 35 กม.อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 117 กม. และห่างจากศรีราชาประมาณ 12 กม. รวมเนื้อที่ประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตร ประชาชนอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง เกาะสีชังมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา โขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบทำการเพาะปลูกได้ประมาณ 500ไร่ ไม่มีแม่น้ำลำธารแลหนองบึง บริเวณจุดสูงสุดคือบริเวณยอดเขาซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสีชังมีความสูงประมาณ 192 เมตร จากระดับน้ำทะเล








เกาะท้ายตาหมื่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
เกาะขามใหญ่      ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะขามน้อย      ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะปรง               ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะร้านดอกไม้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะสัมปันยื้อ      ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง
เกาะยายท้าว       ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
เกาะค้างคาว        ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง

อาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ-จดทะเลเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้-จดทะเลเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันออก-จดทะเลเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทิศตะวันตก-จดทะเลเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

การปกครองส่วนภูมิภาค
เขตการปกครองของเกาะสีชังในอดีตจนถึงปัจจุบันเดิมเกาะสีชังขี้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2486 ได้โอนมาขึ้นกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ก่อนเป็นเขตสุขาบาลเกาะสีชังอยู่ในการปกครองของกิ่งอำเภอเกาะสีชังและได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลเกาะสีชังเมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยผลของพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อ พ.ศ. 2542 อำเภอเกาะสีชังอำเภอเกาะสีชังมี 1 ตำบล 7 หมู่บ้าน แยกเป็นเขตเทศบาลจำนวน 7 ชุมชน

การปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอเกาะสีชังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเกาะสีชัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเทววงษ์ทั้งตำบล

สถานที่สำคัญหน่วยงานราชการ

1.ที่ทำการปกครองอำเภอเกาะสีชัง
2.ฝ่ายทะเบียนและบัตรเกาะสีชัง
3.สำนักงานสัสดีเกาะสีชัง
4.โรงพยาบาลเกาะสีชัง
5.เทศบาลเกาะสีชัง

6.สำนักงานสาธารณสุขเกาะสีชัง

7.สถานีตำรวจภูธรเกาะสีชัง

8.สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาะสีชัง

9.สำนักงานศุลกากรเกาะสีชัง

10.สำนักงานที่ดินเกาะสีชัง

11.สำนักงานสรรพากรเกาะสีชัง

12.สำนักงานพัฒนาชุมชนเกาะสีชัง

13.สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสีชัง

14.งานตำรวจน้ำเกาะสีชัง

15.ด่านที่ทอดเรือภายนอกสีชัง

16.สำนักงานท้องถิ่นเกาะสีชัง

17.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและศูนย์ฝึกนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18.โรงเรียนเกาะสีชัง

19.โรงเรียนจุฑาทิศเทววงษ์เกาะสีชัง

20.ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเกาะสีชัง








เจ้าของบล็อก
นาย อภิรักษ์   ไตรเเก้ว
ทำขึ้นเพื่อ:ให้ได้รู้ถึงประวัติเเละความเป็นมาของเกาะสีชัง